แฉกลโกง ! แชร์ลูกโซ่คืออะไร รู้ไว้ไม่โดนหลอก
เชื่อว่าไม่มีใครที่ไม่อยากรวย เพราะการมีเงินใช้ เกษียณเร็ว และการมีอิสระทางการเงินตลอดชีวิต ต่างเป็นความฝันที่คนสมัยนี้อยากจะให้กลายเป็นจริงกันทั้งนั้น ซึ่งการที่จะทำความฝันนี้เป็นจริงได้ นอกจากจะต้องมีรายได้เยอะๆแล้ว ยังต้องรู้จักสิ่งที่เรียกว่า การลงทุน อีกด้วย ปัจจุบันมีการลงทุนรูปแบบต่างๆเกิดขึ้นมากมาย บางการลงทุนเสี่ยงมาก บางการลงทุนเสี่ยงน้อย แต่ไม่ว่ายุคสมัยจะผ่านไปนานเท่าไหร่ การต้มตุ๋นที่แอบแฝงมากับการลงทุนก็ยังมีให้เห็นอยู่เสมอ และหนึ่งในนั้นคือ แชร์ลูกโซ่ วันนี้พี่โอกาสจะออกมาแฉว่า แชร์ลูกโซ่คืออะไร มีวิธีการอย่างไร และจะรู้ได้อย่างไรว่าแบบไหนคือแชร์ลูกโซ่ ไม่แน่นะครับ สิ่งที่คุณกำลังลงทุนอาจจะเป็นแชร์ลูกโซ่แอบแฝงมา ก็เป็นได้.. แชร์ลูกโซ่คืออะไร ? แชร์ลูกโซ่ คือการระดมทุนจากสมาชิก โดยมีผลตอบแทนที่สูงเกินจริงเป็นแรงจูงใจ และอ้างว่านำไปลงทุนในธุรกิจที่ได้กำไร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะไม่มีอยู่จริง และสิ่งที่เป็นจุดเด่นของ แชร์ลูกโซ่เลยก็คือ “การชวนคน” ซึ่งระบบแชร์ลูกโซ่จะเป็นการนำรายได้ของสมาชิกใหม่ มาให้สมาชิกเก่าเป็นทอดๆ ต่อกันไปเป็นลูกโซ่ นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า แชร์ลูกโซ่ แชร์ลูกโซ่มีวิธีการหลอกลวงอย่างไร ? สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนเลยของแชร์ลูกโซ่ก็ คือการหลอกให้สมาชิกคิดว่า สิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคือ การลงทุน ซึ่งจริงๆแล้วการลงทุนที่หัวแชร์กล่าวอ้างมักไม่มีอยู่จริง เช่น แชร์แม่ชม้อยที่หลอกคนไปลงทุนรถน้ำมัน การฝากหรือการลงทุน forex ปลอมๆหลายเจ้าที่มักจะเป็นข่าวกันในปัจจุบัน โดยหัวแชร์จะหลอกสมาชิกว่า เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง แต่แท้ที่จริงแล้วเมื่อคุณวางเงินลงทุนไว้กับแชร์ บริษัทจะนำเงินของคุณ […]
ความรัก vs เศรษฐศาสตร์ : พิชิตความรัก ด้วยหลักเศรษฐศาสตร์ !
ความรักเป็นเรื่องที่ ไม่มีคำตอบตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น อารมณ์, ประสบการณ์ และการตัดสินใจของคนสองคน ทำให้บางครั้งความรักก็เหมือนกับเศรษฐศาสตร์ และการลงทุน วันนี้พี่โอกาสมีข้อคิดดีๆ 5 ข้อเกี่ยวกับเรื่องความรัก ที่มาจากหลักเศรษฐศาสตร์ มาฝากกันครับ ! 1. การจำกัดอุปทาน บางครั้งการทำตัวเองให้แตกต่าง และเล่นตัวบ้างจะช่วยเพิ่มมูลค่าของคุณในสายตาเขาได้ เพราะสิ่งที่ได้มายากนั้นมักจะดูมีราคาแพงขึ้น แต่ที่สำคัญเลยก็คือ สิ่งนั้นจะต้องมีความแตกต่างด้วย ! วิธีการนี้มาจากหลักการ จำกัดอุปทาน (Supply Restriction) ซึ่งการจำกัดอุปทานนั้นอาจทำให้ราคาตลาดสูงขึ้นได้ กรณีที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ การขายสินค้าแบบรุ่นจำนวนจำกัด หรือ ‘limited edition’ 2. ต้นทุนจม, ค่าเสียโอกาส ต้นทุนจม (Sunk Cost) คือ ต้นทุนที่เราจ่ายไปแล้วในอดีต และไม่ว่าเหตุการณ์จะเปลี่ยนไปอย่างไร ก็ไม่สามารถเรียกต้นทุนส่วนนั้นคืนมาได้ เช่น บางคนซื้อหุ้นมาในราคาสูง ต่อมาราคาหุ้นตกลง แต่ก็ยังไม่ยอมขาย จนขาดทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และทำให้เสียโอกาสในการซื้อหุ้นดีๆตัวอื่นไป ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่ควรเสียดายต้นทุนจมครับ ควรจะเสียดายสิ่งที่เรียกว่า “ค่าเสียโอกาส” มากกว่า ค่าเสียโอกาส (Opportunity […]