กู้ซื้อบ้าน แล้วเสียชีวิต ใครผ่อนบ้านต่อ?
กู้ซื้อบ้าน มักจะใช้ระยะเวลานานกว่าจะผ่อนหมด เพราะการกู้ซื้อบ้านเป็นหนี้สินระยะยาวที่กินเวลา 20-30 ปีโดยประมาณ กว่าจะฝ่าฝันขอกู้ซื้อบ้านได้ เลือดตาแทบกระเด็น แต่แล้ววันหนึ่งบ้านที่อบอุ่นก็ไม่เหมือนเดิม เมื่อใครสักคนในบ้านด่วนจากไป ความรู้สึกคงไม่ต่างอะไรกับโลกหยุดหมุน หากคนเสียชีวิตคือผู้กู้ซื้อบ้าน ใครจะต้องผ่อนต่อ ใช่ผู้รับผลประโยชน์หรือเปล่า ‘ผู้กู้ร่วม’ ด่านแรกของความรับผิดชอบ “ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน” เป็นตัวแปรสำคัญที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้การกู้ซื้อบ้านผ่านง่ายขึ้นและวงเงินสูงขึ้นด้วย เพราะเป็นการแสดงให้สถาบันการเงินเห็นว่า เรามีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น ดังนั้นผู้กู้ซื้อบ้านและผู้กู้ร่วมซื้อบ้านจะอยู่ในสถานะ “มีภาระหนี้ร่วมกัน” ถ้าหากว่าผู้กู้ซื้อบ้าน ผ่อนบ้านไม่ไหว คนที่รับผิดชอบในลำดับถัดไปจะเป็นผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ในกรณีที่ผู้กู้ซื้อบ้านเสียชีวิตลง ผู้ที่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้สินบ้านต่อจะตกเป็นของ ผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน ในทันที กู้ซื้อบ้านร่วมกับใครได้บ้าง? ผู้กู้ร่วม จะต้องเป็นบุคคลที่มีสายเลือดเดียวกัน หรือมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับผู้กู้ซื้อบ้าน โดยจะมีกรรมสิทธ์ในบ้านหลังนั้น รวมถึงต้องรับผิดชอบหนี้บ้านหลังจากที่ผู้กู้ซื้อบ้านได้เสียชีวิตลงด้วย ซึ่งผู้กู้ร่วมมักจะได้แก่ สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนกัน หรือ ยังไม่จดทะเบียนกัน พี่น้องท้องเดียวกัน สายเลือดเดียวกัน นามสกุลเหมือนกัน พี่น้องท้องเดียวกัน คนละนามสกุล (ต้องยื่นสูติบัตรว่ามีพ่อหรือแม่คนเดียวกัน) ในกรณีที่กู้ซื้อบ้านคนเดียว ไม่มีผู้กู้ร่วมซื้อบ้าน หนี้บ้านจะตกเป็นของทายาท หรือผู้รับผลประโยชน์ของผู้กู้ซื้อบ้าน ซื้อบ้านร่วมกันกับแฟน แต่เลิกกัน ทำยังไงดี? หนี้บ้านคือ ‘มรดกตกทอด’ ที่ผู้รับผลประโยชน์ต้องสานต่อ บ้านถือเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายของผู้กู้ซื้อ […]