Home / บทความทั้งหมด / รีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยธนาคารเดิม เลือกแบบไหนดี?

รีไฟแนนซ์บ้าน vs ลดดอกเบี้ยธนาคารเดิม เลือกแบบไหนดี?

retention

รีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคารเดิม หรือรีไฟแนนซ์ไปที่ใหม่ ควรเลือกแบบไหนกันแน่ สำหรับใครที่อยาก ลดดอกเบี้ยบ้าน ให้คุ้มที่สุด การเปรียบเทียบว่า “วิธีแบบไหนเหมาะกับคุณ” ถือว่าจำเป็นมาก

เนื่องจากดอกเบี้ยบ้านเกือบทุกเจ้าจะมีดอกเบี้ยต่ำแค่ประมาณ สามปีแรก หลังจากนั้นดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า (ขึ้นอยู่กับ MRR ตอนนั้น) ซึ่งหากคุณจ่ายดอกเบี้ยไปเรื่อยๆ โดยไม่ทำอะไรเลย ก็มีโอกาสที่จะเสียดอกเบี้ยเป็นแสนฟรีๆ

รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารเดิม (retention)

เวลาเข้าไปเจรจาขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม หลายคนมักจะเรียกวิธีการนี้ว่า “รีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม” ซึ่งจริงๆแล้ววิธีการนี้ ไม่ใช่การรีไฟแนนซ์นะครับ แต่มันเรียกว่า รีเทนชั่น (retention)

สำหรับการ retention ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการลดดอกเบี้ย ที่เหมาะสำหรับลูกหนี้ที่มี ประวัติชำระหนี้ดี มาตลอด (ตรงเวลาทุกงวดไม่มีเบี้ยว) แต่ยังไงก็ต้องลองถามก่อนนะครับ เพราะบางธนาคารไม่มีนโยบายลดดอกเบี้ย

โดยรีเทนชั่นจะมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่ยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไม่สูงมาก ส่วนระยะเวลาที่สามารถเข้าไปขอ retention ได้ จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่คือจะต้องผ่อนมาแล้วเกิน 3 ปี

รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารใหม่

คงเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ใช่ไหมครับว่า “ต้องรีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปี” สาเหตุที่ต้อง รีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารใหม่ทุกๆ 3 ปี ก็เพราะจะทำให้ ดอกเบี้ยต่ำอยู่เสมอ เหมือนผ่อนช่วงแรกๆ

เพราะโดยปกติแล้วธนาคารมักจะมี โปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ 3 ปีแรก มาแข่งกันอยู่แล้ว เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าย้ายมากู้สินเชื่อกับธนาคารใหม่ ทำให้ลูกหนี้อย่างเราได้ประโยชน์ไปเต็มๆ

ซึ่งการรีไฟแนนซ์ไปกู้ธนาคารใหม่ จะทำให้คุณประหยัดดอกเบี้ยไปได้ หลักแสนถึงหลักล้าน เลยทีเดียว แต่แน่นอนว่าการเปลี่ยนสินเชื่อไปธนาคารใหม่นั้น ก็มักจะมีขั้นตอนยุ่งยาก และมีค่าใช่จ่ายพอสมควร

ควรเลือก ‘ลดดอกเบี้ย’ แบบไหนดี?

รีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคารเดิม

การ retention และการรีไฟแนนซ์บ้านนั้นมีจุดเด่นที่ต่างกัน เราควรเลือกใช้ให้เหมาะสม ซึ่งก่อนเลือกลดดอกเบี้ยทุกครั้ง จะต้องพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ด้วย

1.ค่าใช้จ่ายดำเนินการ

Retention กับธนาคารเดิม จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 1-2 % จากยอดกู้เดิม เช่น กู้มาเริ่มต้น 2 ล้านอาจเสียค่าธรรมเนียมรีเทนชั่นประมาณ 10,000 – 20,000 บาท

ส่วนรีไฟแนนซ์บ้าน มีค่าธรรมเนียมจัดการสินเชื่อ 0-1 % ของวงเงินกู้ใหม่, ค่าจดจำนอง 1% ของราคาประเมิน, ค่าประเมิน 2,000 – 3,000 บาท, ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 2,000 บาท และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้

เช่น ยอดหนี้คงเหลือ 2 ล้าน ราคาประเมิน 2.5 ล้านบาท รีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 10,000 – 40,000 บาท เนื่องจากบางเจ้าอาจมี โปรโมชั่นรีไฟแนนซ์ ฟรีค่าจดจำนอง ฟรีค่าประเมิน หรือฟรีค่าประกันอัคคีภัย

2.ยอดหนี้คงเหลือ

เนื่องจากดอกเบี้ยบ้านจะคิดจากยอดหนี้คงเหลือ กรณียอดหนี้เหลือน้อยแล้ว ก็อาจไม่ต้องขอลดอัตราดอกเบี้ย หรือรีไฟแนนซ์บ้าน เนื่องจากดอกเบี้ยที่ประหยัดไปอาจไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายดำเนินการที่ต้องเสีย

3.อัตราดอกเบี้ย

สำหรับการ retention ดอกเบี้ยจะลดค่อนข้างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะลดอยู่ที่ประมาณ 1-2% แต่รีไฟแนนซ์จะลดดอกเบี้ยถึง 3-4% กรณียอดหนี้คงเหลือน้อยๆ ดอกเบี้ยที่ประหยัดอาจไม่ต่างกันมาก

แต่ถ้ายอดหนี้หลักล้านขึ้นไป ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้จะ ต่างกันเป็นแสน เลยครับ พี่โอกาสแนะนำว่า ช่วงแรกๆที่ยอดหนี้มากกว่าล้านให้ “รีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปี” แต่เมื่อผ่อนจนยอดหนี้เหลือหลักแสนแล้ว แนะนำให้ลองขอ retention ดูครับ

เพราะช่วงแรกยอดกู้เดิม กับราคาประเมินจะพอๆกัน ทำให้ค่าใช้จ่ายรีเทนชั่น กับรีไฟแนนซ์ใกล้เคียงกัน “รีไฟแนนซ์เลยคุ้มกว่า” แต่เมื่อผ่อนไปจนราคาประเมินสูงกว่ายอดหนี้มากๆ แล้ว การรีไฟแนนซ์ก็อาจไม่ค่อยคุ้มเท่าไหร่

สรุป

ไม่ว่าจะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม หรือธนาคารใหม่ ก็ประหยัดดอกเบี้ยทั้งนั้น แต่อาจจะประหยัดไม่เท่ากัน ช่วงแรกๆรีไฟแนนซ์จะประหยัดกว่าเยอะมาก แต่ช่วงหลังๆที่ยอดหนี้เหลือน้อย รีเทนชั่นอาจคุ้มกว่า

ยังไงก็ลองไปคำนวณค่าใช้จ่ายแต่ละแบบกันดูนะครับ เพราะยอดหนี้กับดอกเบี้ยบ้านแต่ละคนไม่เหมือนกัน และอย่าลืมเปรียบเทียบโปรโมชั่นกันให้ดี เพราะจะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ไปได้เยอะ

Droplead New

Let us know who you are