ในโลกที่หลาย ๆอย่างเปลี่ยนไป สาเหตุของปัญหาสุขภาพก็เปลี่ยนตามทั้งไวรัส สิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมของเราเอง ก็ส่งผลต่อการเจ็บป่วย เช่น การนอนดึก ตื่นเช้า ความเคร่งเครียด การโหมทำงานหนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน หรือมองข้ามเรื่องการดูแลสุขภาพ
ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญ ของปัญหาสุขภาพระยะยาว และโรคร้ายแรง พี่โอกาสจึงหาข้อมูลพฤติกรรมที่ต้องพึงระวัง พร้อมวีธีลดความเสี่ยงการเกิดโรค มีอะไรบ้าง มาดูกันครับ
เสี่ยงมะเร็งปอด จากฝุ่นควัน PM 2.5
เป็นเรื่องปกติในเมืองที่ต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศ ด้วยเพราะประชากรหนาแน่น ความคับคั่งของการจราจร ทั้งเขม่าควันจากรถยนต์ และฝุ่นผงจากการก่อสร้าง ปัญหามลภาวะฝุ่น PM2.5 ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง เพราะฝุ่นที่มีขนาดเล็กนี้สามารถก่อให้เกิดโรค มะเร็งปอด ได้ และเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงฝุ่นพวกนี้ได้จากในชีวิตประจำวันได้
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดมะเร็งปอด
- การสูบบุหรี่และได้รับควันบุหรี่ : ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักในการเกิดโรคมะเร็งปอด รวมไปถึงมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งหู คอ จมูก เป็นต้น
- การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง : เช่น โครเมียม แร่ใยหิน แร่เรดอน นิกเกิล เรดอน เป็นต้น
- ประวัติโรคปอดเรื้อรังเดิม : เช่น โรคถุงลมปอดโป่งพองเรื้อรังและภาวะพังผืดที่ปอด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดมากขึ้น
วิธีลดความเสี่ยงจากพิษฝุ่น PM 2.5
- ใส่หน้ากากอนามัย เช่น หน้ากาก N95 หรืออาจใช้หน้ากากอนามัยที่มีฟิลเตอร์ 3 ชั้น ควรหมั่นกระชับหน้ากากไม่ให้หลวม ไม่ควรนำมาใส่ซ้ำ
- ใช้เครื่องฟอกอากาศภายในบ้านหรืออาคาร จะช่วยทำให้อากาศภายในห้องสะอาดขึ้น
- งดสูบบุหรี่และกิจกรรมที่ทำให้เกิดควัน เพราะทำให้ระบบทางเดินหายใจและปอดอ่อนแอ ส่งผลให้สุขภาพแย่ลง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมนอกบ้าน เช่น การออกกำลังกายในที่โล่งแจ้ง
- โหลดแอปติดตามสถานการณ์ค่าฝุ่น PM 2.5 จาก กรมควบคุมมลพิษ
เสี่ยงโรคหัวใจ จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน
เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ในปัจจุบันพบว่าผู้ที่อายุน้อยหรือวัยรุ่นก็มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ การไม่ดูแลสุขภาพ ความเครียด การรับประทานอาหาร และการพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ครับ
พฤติกรรมเสี่ยงกันโรคหัวใจ
- ทานอาหารไขมันสูง เช่น เค้ก อาหารสำเร็จรูป ฟาสต์ฟู้ด ขาหมู ของมัน ของทอด และอาหารปิ้งย่าง เมื่อรับประทานในปริมาณมาก และต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงจนไปอุดตันในหลอดเลือดหัวใจทำให้หลอดเลือดตีบและอุดตัน และเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
- น้ำหนักเกิน (ภาวะอ้วน) การปล่อยให้ตัวเองมีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ไม่ออกกำลังกาย มีอัตราเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อการทำงานของหัวใจเป็นอย่างมาก
- ภาวะความเครียด ผู้ที่มีความเครียดมากๆ และเครียดอยู่เป็นประจำ คือกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติมากที่สุด เพราะความเครียดจะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น จนอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
- ไม่การออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ หากหัวใจไม่เคยได้ออกกำลัง ก็จะทนต่อการทำงานหนักไม่ไหว หากอยู่ในภาวะหัวใจต้องทำงานหนักแต่หัวใจรับไม่ไหว ก่อให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
- การสูบบุหรี่ หลายคนอาจจะคิดว่าการสูบบุหรี่ทำให้เป็นมะเร็งที่ปอดเท่านั้น จริงๆ แล้วบุหรี่เป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เนื่องจากควันบุหรี่มีสารพิษหลายชนิดที่เป็นอันตรายต่อหลอดเลือดหัวใจ ได้แก่ นิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์ ทำให้หลอดเลือดหัวใจหดตัว เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดอาการจุกเสียด เจ็บหน้าอก มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันจนเสียชีวิตได้
วิธีลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ
การหมั่นออกกำลังกาย หาเวลาพักผ่อนให้กับตัวเอง งดการสูบบุหรี่ ลดทานอาหารไขมันสูง และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เท่านี้คุณก็ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้แล้ว หากเพื่อความไม่ประมาทหากพบว่ามีอาการเหนื่อย หายใจติดขัด แน่น หรือเจ็บหน้าอก ชีพจรเต้นอ่อน เต้นเร็ว มีเหงื่อออกมาก ควรมาพบแพทย์เฉพาะทางด้านโรคหัวใจทันที
เสี่ยงโรค COVID-19 จากพฤติกรรมการ์ดตก
ถึงแม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยปัจจุบันเริ่มลดลง และมาตรการที่เริ่มผ่อนผัน เพื่อให้ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม แต่เราก็ยังคงต้องเข้มงวดกับการปฏิบัติตัว เพื่อไม่ให้ติดเชื้อ ส่วนใหญ่มักติดโรค COVID-19 โดยไม่รู้ตัวจากพฤติกรรมที่ให้ในชีวิตประจำวัน ทำให้การ์ดเริ่มตก เนื่องด้วยความเคยชิน
พฤติกรรมเสี่ยงโรค COVID-19
- ไม่ล้างมือ หลังสัมผัสสิ่งของต่างๆ เช่นลูกบิดประตู ลิฟต์ หรือรับของจากการสั่งอาหารเดลิเวอรี่
- มักชอบเผลอขยี้ตา แคะจมูก หรือสัมผัสใบหน้า
- ไม่พกหน้ากากอนามัย และเจลล้างมือ
- ไม่เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร
- กลับถึงบ้านแล้วไม่อาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้าในทันที
- สัมผัสใกล้ชิดกับคนรักและคนในครอบครัว
- ป่วยแล้วไม่กักตัวเองอยู่บ้าน
- ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน ทานอาหารจานเดียวกัน
- ปาร์ตี้สังสรรค์กับเพื่อน
วิธีลดความเสี่ยงเพื่อไม่ให้ติดโรค COVID-19
- ล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก
- สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ออกจากบ้าน
- หลีกเลี่ยงการไปในที่สาธารณะโดยไม่จำเป็น
- หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควรรับประทานอาหารที่สดและไม่ผ่านการแปรรูป ลดอาหารหวาน มัน เค็ม ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อความเสี่ยงของการเจ็บป่วยเรื้อรังและโรคติดเชื้อ
- สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการเจ็บป่วย มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หรือเหนื่อยหอบ ควรปรึกษาแพทย์
เสี่ยงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จากพฤติกรรมทำงานทั้งวันโดยไม่ลุกไปเข้าห้องน้ำ
โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบมักพบบ่อยกับผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบไม่ค่อยลุกไปเข้าห้องน้ำ เช่น นั่งทำงานทั้งวัน ขับรถหรือต้องเดินทางโดยอยู่บนรถเป็นเวลานานๆ แม้ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่หากเป็นเมื่อไหร่ก็สร้างความรำคาญและความทรมานได้
ปัจจัยเสี่ยงโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน
- ดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ เพราะมีผลไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย
- การดูแลรักษาสุขอนามัยบริเวณอวัยวะเพศไม่ดี โดยเฉพาะผู้หญิง หากทำความสะอาดไม่ถูกวิธี เช่น เช็ดทำความสะอาดจากด้านหลังมาด้านหน้า ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อจากช่องคลอดและทวารหนักได้
- การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
- ใช้สารเคมีที่มีกรดแรงทำความสะอาดอวัยวะเพศ จะก่อให้เกิดการระคายเคือง ทำให้เพิ่มโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ปวดแสบขัดขณะปัสสาวะ
- ปวดปัสสาวะบ่อย อาจต้องตื่นมาปัสสาวะเวลากลางดึก
- รู้สึกเหมือนปัสสาวะไม่สุด
- ปัสสาวะขุ่น มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ และอาจมีเลือดปน
- ปวดบริเวณท้องน้อย
- มีไข้
วิธีลดความเสี่ยงการเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
- หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ หรือแอลกอฮอล์
- ทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระ
- ควรทำความสะอาดร่างกายและปัสสาวะทันทีหลังการมีเพศสัมพันธ์
- รักษาความสะอาดของชุดชั้นใน เลือกชุดชั้นในที่ไม่อับชื้น
- หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอวัยวะเพศที่มีสารระคายเคืองผิว
เสี่ยงออฟฟิศซินโดรม จากพฤติกรรมการทำงาน
ในปัจจุบันออฟฟิศซินโดรมจึงกลายเป็นปัญหาสุขภาพยอดฮิต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ไม่ชอบขยับเขยื้อนร่างกายระหว่างวัน แต่ยังมีอีกหลายพฤติกรรม ที่เราทำกันเป็นประจำ และส่งผลร้ายต่อสุขภาพหากใครที่คิดว่าตัวเองเริ่มมีอาการเข้าข่ายแล้วต้องดูแลตัวเองอย่างไรมาดูสาเหตุออฟฟิศซินโดรมกันได้ที่นี่ครับ
พฤติกรรมเสี่ยง ออฟฟิศซินโดรม
- ตั้งจอคอมพิวเตอร์สูง หรือ ต่ำกว่าระดับสายตา
- โต๊ะทำงานและเก้าอี้ มีระดับไม่พอดีกับร่างกาย
- ใช้เมาส์หรือคีย์บอร์ดห่างจากตัวเกินไป
- นั่งหลังค่อม ห่อไหล่ นั่งไขว่ห้าง
- นั่งนาน ไม่ขยับตัว
- เครียดจากงาน อดอาหาร หรือ พักผ่อนไม่เพียงพอ
วิธีลดความเสี่ยง
- ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นโยคะ
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เช่น ปรับจอคอมพิวเตอร์ ปรับเบาะของเก้าอี้ ในเหมาะกับสรีระร่างกาย จับเม้าส์ในตำแหน่งตรง
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
- เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายอย่างน้อย ทุกๆ 1 ชั่วโมง
- พักสายตาจากจอ ปรับเปลี่ยนท่านั่งทำงานทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
พฤติกรรมแบบนี้เสี่ยงเป็นโรคอะไร? ค่ารักษาเท่าไหร่?
เพราะการใช้ชีวิตในปัจจุบันมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อเรื่องของสุขภาพ จึงควรเตรียมพร้อมรับมือโรคร้ายไว้ทุกเมื่อ เพื่อให้คุณสามารถวางแผนค่าใช้จ่ายได้ด้วยตัวเองไม่ต้องกังวลยามเจ็บป่วย พี่โอกาสได้รวบรวมสาเหตุการเกิดโรคและสรุปราคาค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นมาให้ตามนี้ครับ
วันนี้ พี่โอกาสแนะนำ ฟินชัวรันส์ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ครอบคลุมทุกโรคเสี่ยง ปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ มีหลายแผนให้เลือก จ่ายค่าเบี้ยแค่หลักพันต่อเดือน คุ้มครองหลักล้าน! จากบริษัท คิง ไว ประกันชีวิต
จุดเด่น
- ฟินชัวรันส์ ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คุ้มครองให้ครบ ช่วยจ่ายให้หมด
- คุ้มครองครบทั้งอุบัติเหตุ สุขภาพ เจ็บป่วยโรคทั่วไป โรคร้ายแรง ในกรมธรรม์ใบเดียว
- เบี้ยประกันหลักพันต่อเดือน แต่ให้ความคุ้มครองหลักล้าน มีให้เลือกหลายแผน
- เลือกแพ็คเกจประกันสุขภาพเองได้ ออกแบบความคุ้มครองให้ตรงกับความต้องการ
- ทำได้ง่าย ผ่านออนไลน์ แค่ตอบปัญหาสุขภาพ
ฟินชัวรันส์ ประกันสุขภาพที่พร้อมดูแลค่ารักษาแบบเหมาจ่าย คุ้มครองสูงสุดถึง 10 ล้านบาทต่อปี อุ่นใจ มั่นใจคุ้มครองทุกโรคเสี่ยง สมัครง่ายผ่านออนไลน์ คลิกเลย : https://bit.ly/finfbpostfinstreet
สรุป
ในยุคสมัยที่เศรษฐกิจผันผวน และค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้นทุกปีแบบนี้ สุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่เรามักละเลยจนร่างกายล้มป่วย ต้องเสียทั้งเวลา และเงินทอง จึงไม่ควรละเลยเรื่องสุขภาพ เพราะสาเหตุของโรคร้ายแรงอยู่รอบตัวเรา
ทั้งจากสภาพแวดล้อม ฝุ่น PM 2.5 ควันรถ และมลพิษ การรับประมานอาหาร ความเครียด พฤติกรรมการทำงาน และ Covid-19 หากพลาดพลั้งเจ็บป่วยขึ้นมา ค่ารักษาที่เกิดขึ้นก็อาจจะยิ่งทำให้ทุกข์ใจกว่าเดิม
ดังนั้น การเตรียมพร้อมวางแผนสุขภาพ และประกันโรคร้ายแรงเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะคงไม่มีใครที่อยากสูญเงินเก็บที่หามาได้ ไปกับความเจ็บป่วยที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อครับ