Home / บทความทั้งหมด / ต้องการเงินหมุน! ของมีค่าอะไรที่โรงรับจำนำรับบ้าง?

ต้องการเงินหมุน! ของมีค่าอะไรที่โรงรับจำนำรับบ้าง?

ต้องการเงินด่วน โรงรับจำนำ เอกชน รัฐบาล รับจำนำทีวีไหม

ร้อนเงิน ต้องการเงินด่วน ไม่รู้จะหาเงินที่ไหนมาใช้ ไม่อยากเอารถเข้าไฟแนนซ์ เพราะรถไม่ใช่ชื่อตัวเอง ซึ่งอีกสถานที่ยอดฮิตที่คนมักจะไปกู้เงินมาใช้จ่ายยามฉุกเฉินก็คือ โรงรับจำนำ นั่นเอง เพราะตัวเลือกทรัพย์สินที่สามารถนำไปค้ำประกันนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่ของเบ็ดเตล็ด เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงของมีค่าราคาแพง เรื่องที่ทุกคนควรรู้เบื้องต้นก่อนไปจำนำ จะมีอะไรบ้าง ตามพี่โอกาสมาอ่านต่อได้ในบทความนี้เลยครับ

โรงรับจำนำ หรือ โรงตึ๊ง คืออะไร

โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินประเภทหนึ่งที่ประชาชนสามารถนำของมีค่า ของใช้ในบ้าน หรือทรัพย์สิน มรดกต่างๆ ไปค้ำประกันเพื่อแลกกับเงิน โดยมูลค่าเงินที่ได้นั้นก็จะผันแปรตามมูลค่าสิ่งของที่นำไปจำนำ ยิ่งหายาก ราคาแพง ก็จะยิ่งได้ราคาดี ถือเป็นอีกตัวเลือกสำหรับคนที่มีสิ่งของราคาแพง และต้องการใช้เงินด่วน ซึ่งในการจำนำของนั้น จะมีระยะเวลาในการไถ่ถอนสินค้าคืน รวมถึงอัตราดอกเบี้ยจากเงินที่เรากู้ไป โดยเราสามารถไถ่ถอนเงินที่กู้ไปจนครบ และนำสิ่งของชิ้นนั้นกลับมาเป็นของเราได้ครับ

โรงรับจำนำ สถานธนานุบาล สถานธนานุเคราะห์ ต่างกันอย่างไร

ประเภทของโรงรับจำนำ

  • โรงรับจำนำเอกชน : เป็นโรงรับจำนำที่ใช้เงินของเจ้าของ หุ้นส่วน หรือเงินหมุนเวียน มาใช้ในการบริการรับจำนำ โดยส่วนใหญ่แล้วประชาชนมักจะใช้บริการภาคเอกชน เพราะให้ราคาสิ่งของแพงกว่ารัฐบาล
  • สถานธนาธุบาล : โรงรับจำนำที่ดำเนินกิจการโดยรัฐบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล และกรุงเทพฯ เงินทุนมาจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล เพื่อนำมาหมุนเวียนในโรงรับจำนำ
  • สถานธนานุเคราะห์ :  เป็นโรงรับจำนำของกรมประชาสงเคราะห์ เงินทุนมาจากงบประมาณที่ถูกรัฐบาลจัดสรรไว้ให้ครับ

ก่อนไปโรงรับจำนำ มีอะไรที่ควรรู้บ้าง

สำหรับใครที่ร้อนเงิน ต้องการเงินด่วนมากๆ และเตรียมสิ่งของเพื่อไปโรงรับจำนำแล้ว แวะมาดูกันสักหน่อยครับว่า ก่อนที่จะไปจำนำของที่โรงรับจำนำ มีเรื่องอะไรที่เราควรรู้บ้าง เช่น เอกสารที่ต้องใช้ อัตราดอกเบี้ยคิดยังไง คิดตามมูลค่าสิ่งของไหม หรือระยะเวลาในการไถ่ถอนทรัพย์สินคืนคือเท่าไหร่ ไปดูกันเลยครับ

  • อายุขั้นต่ำในการนำทรัพย์สินมาจำนำ : บุคคลที่อายุ 15 ปีขึ้นไป และไม่เป็นพระภิกษุหรือสามเณร
  • เอกสารที่ต้องใช้ : บัตรประชาชน
  • อายุของตั๋วรับจำนำ : มีระยะเวลาทั้งสิ้น 4 เดือน 30 วัน (ไม่สามารถต่ออายุได้) แต่หากวันครบกำหนดเป็นวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ สามารถมาส่งดอกเบี้ยหรือไถ่ถอนในวันเปิดทำการถัดไป โดยไม่เสียดอกเบี้ยเพิ่มได้

ดอกเบี้ยโรงรับจำนำ คิดยังไง 2566

วิธีคิดอัตราดอกเบี้ยทรัพย์สินของโรงรับจำนำ

ดอกเบี้ยจะแตกต่างกันไปตามโรงรับจำนำแต่ละที่ ส่วนใหญ่แล้วมักจะคิดจากยอดเงินต้น หากจำนำทรัพย์สินในระยะเวลา 15 วัน จะคิดดอกเบี้ยแค่ครึ่งเดือน ส่วนถ้าจำนำทรัพย์สินเกิน 15 วันขึ้นไป ก็จะถูกคิดอัตราดอกเบี้ย 1 เดือน แม้จะยังไม่ครบเดือน เพราะนับวันจำนำเป็นวันที่ 1 ครับ (อิงตาม พ.ร.บ. โรงรับจำนำ 2505)

โรงรับจำนำเอกชน

  • เงินต้น 2,000 บาทแรก คิดดอกเบี้ย 2%
  • ส่วนที่เกินจาก 2,000 บาทแรก คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน (ไม่เกิน 24% ต่อปี) 

สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร

  • ไม่เกิน 5,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 บาทต่อเดือน
  • ตั้งแต่ 5,001 บาท – 35,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 บาทต่อเดือน 
  • ตั้งแต่ 15,000 บาท คิดดอกเบี้ยร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน  

สถานธนานุเคราะห์ 

  • ไม่เกิน 5,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน
  • ตั้งแต่ 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน
  • ตั้งแต่ 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1% ต่อเดือน
  • ตั้งแต่ 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน

โรงรับจำนำ โรงตึ๊ง รับอะไรบ้าง 2566 

โรงรับจำนำ รับอะไรบ้าง

หลังจากเพื่อนๆ ทราบข้อมูลที่ควรรู้เบื้องต้นแล้ว หลายคนต้องมีคำถามว่า แล้วสิ่งของหรือทรัพย์สินอะไรบ้าง ที่เราสามารถนำไปโรงรับจำนำได้ เพราะถึงแม้ว่าจะนำสิ่งของเบ็ดเตล็ดไปค้ำประกันและแลกเงินกลับบ้านได้ แต่ใช่ว่าจะจำนำได้ทุกอย่างนะครับ ถ้าสิ่งของบางอย่างที่มูลค่าน้อย หลักสิบบาท สภาพไม่ดี เก่าเกินไป ส่วนใหญ่ก็จะไม่รับครับ ดังนั้น ไปดูกันเลยว่า มีทรัพย์สินหรือของมีค่าอะไรบ้าง ที่โรงรับจำนำ รับจำนำกันบ้าง 

โรงรับจำนำเอกชน รับจำนำอะไรบ้าง

  • ที่ดิน ฉโนดที่ดิน 
  • รถยนต์ รถกระบะ มอเตอร์ไซค์ 
  • เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ทีวี หม้อหุงข้าว ที่สภาพไม่เก่าเกิน 50%
  • กระเป๋า ต่างหู แว่นตา รองเท้า กำไล หรือของแบรนด์เนมอื่นๆ
  • เครื่องเพชร เครื่องเงิน ทองรูปพรรณ ทองคำแท่ง หรือของมีค่าอื่นๆ 

สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร รับจำนำอะไรบ้าง

  • สิ่งของมีค่าต่างๆ เช่น ทองคำแท่ง ทองรูปพรรณ เพชร เงิน นาก หรืออื่นๆ โดยตั๋วจำนำต้องมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาทต่อฉบับ 
  • สิ่งของทั่วไปหรือของเบ็ดเตล็ด เช่น เครื่องมือช่าง เครื่องใช้ไฟฟ้า กล้องถ่ายรูป นาฬิกา หรืออื่นๆ มูลค่าตั๋วจำนำต้องไม่เกิน 50,000 บาทต่อฉบับ 
  • สถานธนานุบาลไม่รับสิ่งของที่เป็นของราชการ

สถานธนานุเคราะห์ รับจำนำอะไรบ้าง

รับของมีค่าหรือสิ่งของเบ็ดเตล็ดทั่วไปที่สามารถขนเคลื่อนย้ายได้ เช่น ทอง นาก เพชร พลอย เงิน เครื่องใช้ไฟฟ้า นาฬิกา และอื่นๆ ยกเว้นของที่มีทะเบียน เช่น ปืน โดยตั๋ว 1 ฉบับรับจำนำได้ไม่เกิน 100,000 บาท และเมื่อรวมกันทุกรายการในวันเดียวกัน วงเงินต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ขั้นตอนจำนำของ ไถ่ถอนตั๋วจำนำ ตั๋วจำนำหาย ทำยังไง

ขั้นตอนการจำนำของ ไถ่ถอน ตั๋วจำนำหาย ต้องทำยังไง

ทรัพย์สินที่ต้องการนำไปจำนำพร้อมแล้ว เพื่อนๆ ตามมาดูเลยครับว่า ถ้าอยากจำนำของ จะมีขั้นตอนยังไงบ้าง แล้ววิธีไถ่ถอนทรัพย์สินคืน ต้องทำยังไง ถ้าตั๋วจำนำหายหรือเจ้าของตั๋วเกิดเสียชีวิตขึ้นมา ต้องทำเรื่องเอกสารยังไง พี่โอกาสสรุปมาให้ทุกคนแล้ว เลื่อนลงมาอ่านต่อกันเลย

วิธีการจำนำของ

เมื่อเดือดร้อนและต้องใช้เงินด่วนเดี๋ยวนั้น ก็ให้เดินทางไปที่โรงรับจำนำใกล้บ้าน ยื่นบัตรประชาชนและทรัพย์สินที่ต้องการจำนำให้เจ้าหน้าที่ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะประเมินราคาสิ่งของให้เราทราบ หากตกลงกันเรียบร้อยแล้ว ก็ให้สแกนลายนิ้วมือ (ใช้นิ้วโป้งขวา) จากนั้นรับเงินพร้อมตั๋วรับจำนำได้เลยครับ

ขั้นตอนการไถ่ถอนทรัพย์สินคืน

เดินทางไปที่โรงรับจำนำ แจ้งทางเจ้าหน้าที่ว่าต้องการไถ่ถอนทรัพย์สินคืน พร้อมยื่นตั๋วจำนำและบัตรประชาชน สแกนลายนิ้วมือ เจ้าหน้าที่จะสรุปเงินต้นและดอกเบี้ยให้ ชำระเงินให้เรียบร้อย และรับทรัพย์สินคืน

ตั๋วจำนำหาย ต้องทำยังไง

ให้ไปที่โรงรับจำนำ สถานธนานุบาล หรือสถานธนานุเคราะห์ ที่เราใช้บริการ แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าทำตั๋วจำนำหาย จากนั้นเจ้าหน้าที่จะออกใบแทนตั๋วหายให้ ให้นำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ ซึ่งควรแจ้งความให้เสร็จเรียบร้อยใน 3 วันหลังจากแจ้งทางโรงรับจำนำแล้ว จากนั้นให้นำใบลงบันทึกประจำวันและใบแทนตั๋วหาย บัตรประชาชน มาติดต่อที่โรงรับจำนำอีกครั้ง เพื่อส่งดอกเบี้ยหรือไถ่ถอน โดยระยะจำนำจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ให้อิงตามตั๋วรับจำนำใบแรกที่หายไปครับ

เจ้าของตั๋วจำนำเสียชีวิต ใครเป็นคนจัดการส่งดอกเบี้ยแทน

หากเกิดกรณีเจ้าของตั๋วจำนำเสียชีวิต คนที่ต้องดูแลต่อคือ ผู้จัดการมรดก ครับ โดยต้องมีคำสั่งจากศาลและให้นำเอกสารและหลักฐานต่อไปนี้ ไปติดต่อที่โรงรับจำนำ สถาธนานุบาล หรือสถานธนานุเคราะห์ครับ

  • ตั๋วรับจำนำ
  • ใบมรณบัตร พร้อมสำเนา
  • ทะเบียนบ้านของผู้ตาย พร้อมสำเนา
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาแทน พร้อมสำเนา
  • คำสั่งศาล ในกรณีเป็นผู้จัดการมรดก

เมื่อเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารทั้ง 5 ฉบับไปแจ้งความที่สถานีตำรวจนครบาลในเขตที่โรงรับจำนำตั้งอยู่ และไปที่กรมการปกครอง แผนกควบคุมโรงรับจำนำ เพื่อประทับตราอนุญาตบนเอกสาร จากนั้นกลับมาที่โรงรับจำนำ เพื่อทำการส่งดอกเบี้ย หรือไถ่ถอนทรัพย์สินคืนครับ

สรุป

หากเพื่อนๆ ต้องการใช้เงินแบบเร่งด่วน และยังพอมีทรัพย์สินมีค่าที่สามารถเอาไปค้ำประกันได้ โรงรับจำนำก็เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์นะครับ หรือใครที่มีหนี้เยอะแยะเต็มไปหมด ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หาเงินมาโปะเท่าไหร่ก็ไม่พอสักที อยากปิดหนี้ไว ไร้ภาระ แนะนำให้ปรึกษา Cartrust ตัวจริงเรื่องรีไฟแนนซ์และปิดหนี้ บริการปิดหนี้สินทุกประเภท อนุมัติไว พร้อมมอบข้อเสนอที่ดีที่สุดจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วประเทศครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก checkraka.com, สำนักงานธนานุเคราะห์ และ สถานธนานุบาลกรุงเทพมหานคร ด้วยครับ

Let us know who you are

Tell Us more about your project

When do you want to talk?

Select your preferable date under the next 4 weeks period