Home / บทความทั้งหมด / เผยสถิติ! คนไทยอยู่ได้ “โดยไม่พึ่งเงินสด” กี่วัน?

เผยสถิติ! คนไทยอยู่ได้ “โดยไม่พึ่งเงินสด” กี่วัน?

สังคมไร้เงินสด

หากเป็นเมื่อหลายสิบปีก่อน ถ้ามีใครมาบอกคุณว่า วันหนึ่งผู้คนจะสามารถซื้อขายกันได้โดยไม่ต้องยื่นเงินสด หรือธนบัตร คุณคงจะคิดว่า “เป็นไปไม่ได้” แต่ปัจจุบันการซื้อขายโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือ สังคมไร้เงินสด (cashless society) กลับกลายเป็นเรื่องปกติ 

ซึ่งหลายคนเชื่อว่า หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ภายในปี 2026 เราอาจเข้าสู่สังคมไร้เงินสดได้อย่างเต็มตัว ทำไมพวกเขาถึงคิดแบบนั้น และคนไทยมีทัศนคติเรื่องสังคมไร้เงินสดอย่างไร วันนี้ FINSTREET มีสถิติน่าสนใจจาก วีซ่า (Visa) มาฝากกันครับ !

สถิติล่าสุดเกี่ยวกับ ‘สังคมไร้เงินสด’ จากวีซ่า

สังคมไร้เงินสด วิจัย

ช่วงปีที่ผ่านมาหลายสิ่งที่เป็นเรื่องใหม่ เช่น การทำงานที่บ้าน หรือการประชุมออนไลน์ ได้กลายเป็น เรื่องปกติในชีวิตประจำวัน (New Normal)  รวมถึงหลายสิ่งเดิมๆก็เริ่มหายไป เนื่องจากการแทนที่จาก สิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์กว่า (Disruption)

การใช้จ่ายในชีวิตประจำวันก็เช่นกัน ผลการศึกษาจากวีซ่า  ได้ระบุว่า ปัจจุบันคนไทยลองใช้ชีวิตแบบไร้เงินสดกันมากขึ้น มีความมั่นใจว่าสามารถไม่พกเงินสดได้ทั้งวัน และจะพกเงินสดกันน้อยลงเรื่อยๆ

ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยเราสามารถใช้ชีวิตได้โดยไม่พึ่งเงินสดเลยได้นานประมาณ 8 วัน หรือมากกว่า 1 อาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่น่าสนใจมาก

และเนื่องจากสถานการณ์โควิด ทำให้คนไทยได้ทดลองทางเลือกใหม่ๆในการชำระเงินมากขึ้น เช่น การแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless Card), การแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน (Mobile Contactless) หรือการสแกนจ่ายผ่านคิวอาร์โค้ด (QR Code)

ข้อมูลการศึกษานี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า “สังคมไร้เงินสด” สำหรับประเทศไทยไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อม

 ผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่า สังคมไร้เงินสดจะเกิดขึ้นในปี 2026

ผลการศึกษาจากวีซ่า ยังได้แสดงให้เราเห็นอีกว่า ผู้บริโภคชาวไทยเชื่อว่าหลังการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด สังคมไร้เงินสดจะเกิดขึ้นในปี 2026 ทำไมหลายคนถึงคิดแบบนั้น?

ก่อนหน้านี้หลายคนคิดว่า สังคมไร้เงินสดจะไม่มีทางเกิดขึ้นก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน แต่หลังการแพร่ระบาด ความคิดนั้นได้เปลี่ยนไป

1.โควิด-19 เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย

โควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีการชำระเงินดิจิทัลในรูปแบบใหม่ๆมากขึ้น รวมถึงฝั่งร้านค้าเองก็เริ่มปรับตัวเพื่อตอบรับกับพฤติกรรมผู้โภคที่เปลี่ยนไป ทำให้การชำระเงินแบบดิจิทัลสะดวกมากขึ้นทั้งผู้จ่ายและฝั่งร้านค้า

แต่แน่นอนว่าพฤติกรรมผู้บริโภคมีการปรับเปลี่ยนอยู่เรื่อยๆ จากผลการศึกษาได้บอกว่า 78% ของผู้บริโภคทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนวิธีในการจ่ายเงิน เนื่องจากมีการตระหนักเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ

2.คนเริ่มสนใจเทคโนโลยี Contactless

นวัตกรรม Contactless เป็นอีกหนึ่งวิธีการชำระเงินที่น่าสนใจมาก ช่วงปีที่ผ่านมาผู้บริโภคเริ่มรับรู้ และสนใจวิธีการชำระเงินประเภทนี้มากขึ้น 

ไม่ว่าจะเป็น การแตะเพื่อจ่ายผ่านบัตรคอนแทคเลส (Contactless card) ที่มีความสนใจเพิ่มขึ้น 10% (เทียบกันปี 2019) และการแตะเพื่อจ่ายผ่านสมาร์ทโฟน  (Mobile Contactless) ที่มีคนรู้จักเพิ่มขึ้นถึง 7% ดังนั้น Contactless จึงเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะทำให้เราเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

3.ทางเลือกที่เพิ่มมากขึ้น

ยิ่งทางเลือกเยอะ โอกาสที่หลายคนจะเลือกวิธีการชำระเงินที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตัวเองก็เพิ่มขึ้น

จากผลการสำรวจฉบับล่าสุดเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของ วีซ่า ได้ระบุว่า 71% ของคนไทยมีการใช้จ่ายในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งรวมถึง บัตรเครดิต บัตรเดบิต และ e-Wallet ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเข้าสู่สังคมไร้เงินสด

4.ลดความเสี่ยงด้านสุขอนามัย

คนไทยประมาณ 44% เชื่อว่าการลดการใช้เงินสดจะช่วยลดโอกาสของการแพร่ระบาดของเชื้อโรคได้ เนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าธนบัตรเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งส่งผลให้เกิดการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นด้วย

คนไทยเห็นประโยชน์อะไรจาก e-Payment

สังคมไร้เงินสด คือ

หากพูดถึงประโยชน์ที่ทำให้คนยอมเปลี่ยนพฤติกรรมการจากการใช้เงินสด เป็นการจ่ายเงินในรูปแบบ e-Payment หลายคนอาจมีเหตุผลที่แตกต่างกันไป ซึ่งจากผลการศึกษาของวีซ่า พบว่าประโยชน์หลักๆของสังคมไร้เงินในมุมมองของคนไทย มีดังนี้ครับ

  • ช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค (61%)
  • ไม่ต้องไปรอคิวที่ธนาคาร (60%)
  • สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของบัญชีได้ (59%)
  • ความเสี่ยงด้านโจรกรรมน้อยกว่า (55%)

แล้วคุณล่ะครับ “คิดอย่างไรกับสังคมไร้เงินสด”ลองสังเกตตัวเองดูนะครับว่า ทุกวันนี้คุณใช้เงินสดกันน้อยลงหรือเปล่า แล้วถ้าไม่มีเงินสด คุณจะสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้กี่วัน

Droplead New

Let us know who you are