Home / บทความทั้งหมด / [สรุป] ดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร ลดแล้วส่งผลยังไง?

[สรุป] ดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร ลดแล้วส่งผลยังไง?

ดอกเบี้ยนโยบายลด

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย และการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายแต่ละครั้ง จะส่งผลอย่างไรกับเศรษฐกิจ และเงินในกระเป๋าของคุณบ้าง วันนี้พี่โอกาสจะพาคุณไปหาคำตอบกันครับ

ดอกเบี้ยนโยบาย คืออะไร?

ดอกเบี้ยนโยบาย คือ ดอกเบี้ยที่แบงค์ชาติกำหนดมาเพื่อเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (ดอกเบี้ยขั้นต่ำ) และเป็นเครื่องมือการเงินที่มีคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นผู้ดูแล เพื่อควบคุมเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างเหมาะสม

ดอกเบี้ยนโยบายคืออะไร

ดอกเบี้ยนโยบาย ส่งผลกับเศรษฐกิจยังไง?

ช่วงที่เศรษฐกิจเติบโตมาก ราคาสินค้ามักจะสูงขึ้น เงินเฟ้อมากขึ้น ทำให้ภาพรวมกำลังซื้อของประชาชนชนน้อยลง เนื่องจากรายได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาสินค้า

การเพิ่มดอกเบี้ยนโยบายจะช่วย “ลดความร้อนแรง” ของเศรษฐกิจลงได้ เพราะการเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยจะทำให้เอกชนอยากกู้น้อยลง และจะทำให้ประชาชนใช้จ่ายน้อยลง เนื่องจากนำเงินไปฝากธนาคารมากขึ้น

ส่วนถ้าเป็นช่วงเศรษฐกิจหดตัว ราคาสินค้าก็มักจะแทบไม่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจแบบนี้คนจะไม่ค่อยอยากออกมาใช้จ่าย แต่ก็จะเริ่มมีกำลังซื้อมากขึ้น

การลดดอกเบี้ยนโยบายจะไป “กระตุ้นเศรษฐกิจ” ให้กลับมาคึกคักขึ้น คนอยากนำเงินออกมาจับจ่าย เพราะดอกเบี้ยเงินฝากถูก และภาคธุรกิจก็เริ่มอยากกู้อยากลงทุนกันมากขึ้น

เพิ่มดอกเบี้ยนโยบายลดดอกเบี้ยนโยบาย
ลดความร้อนแรงเศรษฐกิจกระตุ้นเศรษฐกิจ
ดอกเบี้ยธนาคารแนวโน้มสูงขึ้นดอกเบี้ยธนาคารแนวโน้มลดลง
เอกชนไม่ค่อยอยากกู้เอกชนเริ่มอยากกู้
คนใช้จ่ายน้อยลงคนอยากใช้เงินมากขึ้น
คนนำเงินไปฝากมากขึ้นคนไม่ค่อยอยากฝากเงิน

ลดดอกเบี้ยนโยบาย จะเกิดอะไรขึ้น?

1. ราคาสินทรัพย์มีแนวโน้มสูงขึ้น

ราคาสินทรัพย์

เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศลดดอกดอกเบี้ยนโยบาย ธนาคารพานิชย์ก็จะเริ่มตอบสนองนโยบายด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝาก

ทำให้ฝั่งประชาชนที่ฝากเงินไว้เริ่มนำเงินฝากย้ายไปลงทุนสินทรัพย์รูปแบบอื่น เนื่องจากได้รับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากมาก ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์โดยรวมมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น เช่น ทองคำ อสังหาริมทรัพย์

2. ภาคธุรกิจเริ่มขยายตัว

ธุรกิจขยายตัว

หลังจากธนาคารพานิชย์ และสถาบันการเงินต่างๆตอบสนองนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยด้วยการลดดอกเบี้ยเงินกู้ และเงินฝากแล้ว

ส่งผลให้ภาระหนี้สินของภาคธุรกิจลดลง เนื่องจากดอกเบี้ยเงินกู้น้อยลง และเมื่อธุรกิจมีภาระหนี้ที่น้อยลงแล้ว จะทำให้สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ง่ายขึ้นและทำให้ภาคธุรกิจมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น

3. การส่งออกเพิ่มขึ้น

ส่งออกเพิ่มขึ้น

การที่ธนาคารปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากจะทำให้ต่างชาติมีแนวโน้มที่จะย้ายไปลงทุนประเทศอื่นมากขึ้น เนื่องจากความต่างของดอกเบี้ย ย้ายไปประเทศที่ดอกเบี้ยสูงกว่า

ซึ่งการที่ต่างชาติย้ายไปลงทุนประเทศอื่นจะส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าขึ้น เพราะไม่ต้องการเงินบาทแล้ว ทำให้เงินบาทมีค่าน้อยลงเทียบกับค่าเงินอื่น

และการที่เงินบาทอ่อนค่าขึ้นจะทำให้ภาคการส่งออกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกด้วยครับ เพราะต่างชาติจะมองว่าสินค้าไทยราคาถูก อยากซื้อในปริมาณมากขึ้น ทำให้ส่งออกมากขึ้น

4. ดอกเบี้ยบ้านถูกลง

ดอกเบี้ยบ้านลด

เนื่องจากดอกเบี้ยบ้านเป็นดอกเบี้ยแบบลอยตัว โดยอิงกับดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) ทำให้เมื่อธนาคารปรับลดดอกเบี้ย MRR จึงส่งผลให้ดอกเบี้ยบ้านถูกลง

เมื่อดอกเบี้ยถูกลงก็จะส่งผลเงินต้นลดลงเร็วขึ้น และทำให้ผ่อนบ้านได้หมดเร็วยิ่งขึ้น เพราะเหตุนี้การลดดอกเบี้ยบ้านจึงเป็นข่าวดีของคนที่อยากกู้ซื้อบ้าน และรีไฟแนนซ์บ้านอย่างมาก

สรุป

สาเหตุคณะกรรมการนโยบายการเงินต้องลดดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาวะเศรษฐกิจหดตัว ซึ่งอาจจะส่งผลให้ราคาสินทรัพย์สูงขึ้น, ภาคธุรกิจเริ่มขยายตัว, การส่งออกเพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยบ้านถูกลง โดยปัจจุบัน ดอกเบี้ยนโยบายล่าสุด อยู่ที่ 0.5% ต่อปี

และสำหรับใครที่กำลังผ่อนบ้าน การรีไฟแนนซ์สามารถช่วยให้ดอกเบี้ยลดลงไปอีก รวมถึงประหยัดเงินไปได้เป็นแสน อยากรีไฟแนนซ์ปรึกษาเรา ฟรี: คลิกเลย

อ้างอิง : ธนาคารแห่งประเทศไทย

*อัพเดตข้อมูลล่าสุดวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563

Droplead New

Let us know who you are