เรามักจะเห็นการทำพินัยกรรมได้บ่อยๆ ในละครหลังข่าวกับฉากที่มี ตระกูลเศรษฐีพันล้านนั่งล้อมวงกัน พร้อมทนายประจำตระกูลกำลังเปิดผนึก แบบฟอร์มพินัยกรรมที่เขียนรายละเอียดว่าจะ มอบมรดกตกทอด เช่น บำเหน็จตกทอด หรือที่ดิน ให้กับลูกหลานคนไหนดี
ด้วยสื่อที่นำเสนอในแง่มุมนี้ หลายคนจึงเข้าใจว่าการทำพินัยกรรมให้ลูกหลานจะมีแต่ครอบครัวเศรษฐี และเขียนพินัยกรรมเองไม่ได้ต้องมีทนายคอยกำกับ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเลยครับ คนธรรมดาแบบเราก็ทำได้!
การทำพินัยกรรมให้ลูกหลาน จำเป็นมากแค่ไหน?
เมื่อมีภาพจำว่าจะทำพินัยกรรมให้ลูกหลานเพื่อมอบมรดกตกทอดต้องเป็นเศรษฐีเท่านั้น หลายคนจึงคิดปล่อยเบลอไม่สนใจ แต่จริงๆ แล้ว ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวไหนก็สามารถทำพินัยกรรมได้เหมือนกัน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเขียนพินัยกรรมทิ้งเอาไว้ เพราะนี่คือการวางแผนถึงอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น
- จะทำพินัยกรรมให้ทรัพย์สินที่มีแก่ใคร เช่น ลูกหลาน หรือภรรยา
- ใครจัดการเรื่องหนี้สินที่เหลืออยู่
อ่านไม่ผิดหรอกครับ มรดกตกทอดไม่ใช่แค่ทรัพย์สินที่เป็นเงินฝากในบัญชี ทองแท่ง เพชรพลอย บำเหน็จตกทอด หรือที่ดินเท่านั้น
แต่ยังรวมไปถึงหนี้สินที่ผู้เขียนพินัยกรรมไปกู้ยืมมาแล้วยังจ่ายไม่หมด หรือการตามทวงหนี้ให้แก่ผู้เขียนพินัยที่ถูกคนอื่นยืมไป ดังนั้น การเขียนพินัยกรรมเลยจำเป็นมากๆ ครับ
เพราะถ้าไม่เขียนพินัยกรรมให้ลูกหลานทิ้งเอาไว้เลย ความยุ่งยากจะตามทีหลัง เช่น ต้องไปขอสิทธิ์ที่ศาลเพื่อดำเนินเรื่องหนี้สิ้น หรือเกิดการแย่งชิงพินัยกรรม แบ่งมรดกไม่ลงตัว จนท้ายที่สุดอาจเกิดโศกนาฎกรรมเหมือนในละครก็ได้ ดังนั้น ก่อนจากไปควรเขียนพินัยกรรมมรดกไว้จะดีที่สุด
4 เรื่องควรรู้เกี่ยวกับการเขียนพินัยกรรม
ถือว่าเข้าใจตรงกันแล้วนะครับว่าต่อไม่ใช่เศรษฐีพันล้านก็สามารถเขียนพินัยกรรมให้ลูกหลานได้ และเพื่อให้การเขียนพินัยกรรมมีประสิทธิภาพมากที่สุด นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับ “พินัยกรรม” ที่จำเป็นจะต้องรู้
ใครบ้างที่จะเขียนพินัยกรรมได้?
พินัยกรรมสามารถเขียนได้ทุกคน ต่อให้มีทรัพย์สินเล็กน้อยแต่มีหนี้สินเยอะ โดยคนที่จะสามารถเขียนพินัยกรรมได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
- ผู้เขียนพินัยกรรมต้องอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
- ศาลไม่ได้สั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
พินัยกรรมควรเริ่มทำตอนไหนดี?
อย่ายึดตามละครที่ว่ากลายเป็นคนสูงอายุ หรืออยู่ในช่วงป่วยใกล้หมดลมหายใจ แล้วคิดเขียนพินัยกรรมให้ลูกหลาน เพราะถึงเวลานั้นจริงๆ พินัยกรรมฉบับนั้นอาจถูกกล่าวว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์
เพราะเขียนขึ้นในช่วงที่ขาดสติสัมปชัญญะ ข้อมูลในพินัยกรรมบิดเบือน เสียความตั้งใจว่าจะแบ่งมรดกตกทอดให้ใครกันแน่
ไม่ต้องรอใกล้จากโลกนี้ไปหรอกครับ อยากเขียนพินัยกรรมมรดกก็เริ่มได้เลย ไม่ต้องกลัวว่าการทำพินัยกรรมเท่ากับแช่งตัวเองให้จากไปไวๆ แต่ใครเลยจะหนีความตายพ้น สู้เตรียมพร้อมก่อนจากไปยังจะดีเสียกว่า ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่สามารถเปลี่ยนข้อมูลในพินัยกรรมได้ตลอดเวลา
ไม่เขียนพินัยกรรมให้ลูกหลานได้ไหม?
คำตอบคือ “ได้” การเขียนพินัยกรรมให้ลูกหลาน เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความตั้งใจของผู้เขียนพินัยกรรม ถ้าเกิดว่าอยากแบ่งทรัพย์สินให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่ลูกหลานก็ทำได้เช่นเดียวกัน เพราะถือเป็นสิทธิ์ขาดที่ผู้เขียนพินัยกรรมสามารถทำได้เองเลย เช่น
- เขียนพินัยกรรมยกสมบัติให้กับพยาบาลที่ดูแลตอนป่วย
- ยกทรัพย์สินที่มีให้กับสาธารณะประโยชน์ เช่น วัด มูลนิธิ โรงพยาบาล
เพื่อให้นึกภาพออกมาขึ้นลองมองในมุมของละครก็ได้ครับ เช่น เจ้าของสมบัติเศรษฐีพันล้านยกทรัพย์สินที่มีอยู่ให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติหรือลูกหลานตัวเอง เพราะเห็นว่าให้คนอื่นคงจะดีกว่าการเขียนพินัยกรรมให้ลูกหลาน เพราะตอนมีชีวิตอยู่ก็ไม่ได้รับการใส่ใจ พอใกล้จากไปถึงค่อยมาดูแล หวังก็แค่มรดกสินะพวกลูกหลาน เลยแก้เผ็ดก่อนจากไปด้วยการยกสมบัติให้คนอื่นที่น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า เป็นต้น
พินัยกรรมเขียนเองได้ไหม ทนายจำเป็นหรือไม่?
FINSTREET ขอประกาศให้รู้โดยทั่วกันเลยครับว่า พินัยกรรมเขียนเองได้ ไม่ต้องมีทนายประจำตระกูล ใครที่มีภาพจำว่าเขียนพินัยกรรมให้ลูกหลานต้องมีทนายประกบทุกครั้งเหมือนในหนังหรือละครนี่เลิกคิดไปได้เลย
เพราะสามารถเขียนพินัยกรรมเองทั้งฉบับด้วยลายมือ หรือพิมพ์พินัยกรรมขึ้นมาเองได้ด้วย หรือถ้ากลัวว่าข้อมูลจะตกหล่น ทำไม่ถูกกระบวนการ สามารถไปทำที่เขตหรืออำเภอก็ได้เช่นเดียวกัน
การเขียนพินัยกรรมมีกี่แบบ และควรเขียนแบบไหน?
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเริ่มเขียนพินัยกรรมมรดกเอาไว้แบบจริงจัง เพราะไม่อยากให้คนที่อยู่ข้างหลังวุ่นวาย ก็ถึงเวลาศึกษาแล้วครับว่าการเขียนพินัยกรรมมีกี่แบบ แล้วเขียนแบบไหนถึงจะดีที่สุด
พินัยกรรมมีกี่แบบ?
การเขียนพินัยกรรมเองมีทั้งหมด 5 แบบครับ โดยอ้างอิงจากเว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งแต่ละแบบก็มีวิธีในการทำพินัยกรรมที่แตกต่างกัน บางวิธีก็เสียเงินค่าเอกสารให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ บางวิธีก็สามารถเขียนพินัยกรรมเองได้เลย โดยประเภทของพินัยกรรมทั้ง 5 มีดังนี้
1. พินัยกรรมแบบธรรมดา
เจ้าของทรัพย์สินต้องเขียนพินัยกรรมเป็นหนังสือโดยจะพิมพ์หรือเขียนด้วยลายมือตามความสะดวก หากเลือกพิมพ์ก็ต้องพิมพ์ทั้งฉบับ หากเขียนก็ต้องเขียนทั้งฉบับ ซึ่งจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือต่างประเทศก็ได้
แต่สิ่งที่ต้องมีในพินัยกรรมคือ วัน เดือน ปีในขณะที่เขียนพินัยกรรมแบบธรรมดา โดยการเขียนพินัยกรรมฉบับนี้เจ้าของสมบัติต้องลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าพยานด้วย
2. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
เจ้าของทรัพย์สินต้องเขียนพินัยกรรมเองทั้งฉบับด้วยลายมือเท่านั้น โดยจะเขียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศก็ได้แต่ห้ามพิมพ์เด็ดขาด ซึ่งผู้เขียนหนังสือไม่ได้จึงไม่ควรทำพินัยกรรมในวิธีนี้
ซึ่งข้อสำคัญในการเขียนพินัยกรรมเองทั้งฉบับคือต้องลงวัน เดือน ปีที่เขียนพินัยกรรม รวมไปถึงลงลายมือชื่อเอาไว้ในพินันกรรมมรดกด้วย ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะมีพยานหรือไม่มีก็ได้
3. พินัยกรรมแบบฝ่ายเมือง
เจ้าของทรัพย์สินต้องไปยื่นเรื่องที่ว่าการอำเภอเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐจัดการเรื่องพินัยกรรมให้ โดยบอกถ้อยคำความตามความตั้งใจว่าจะยกมรดกตกทอดให้ใคร พร้อมมีพยานในการทำพินัยกรรมด้วย 2 คน
หลังจากนั้นให้ลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมและพยานอีก 2 คนไว้เป็นหลักฐาน หลังจากนั้น เจ้าพนักงานรัฐจะลงลายชื่อ วัน เดือน ปีที่ทำพินัยกรรม และปิดท้ายด้วยการประทับตราประจำตำแหน่ง
4. พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
พินัยกรรมแบบเอกสารลับ จะเขียนเองด้วยลายมือทั้งฉบับ หรือพิมพ์ขึ้นมาทั้งฉบับก็ได้ แล้วปิดผนึกพินัยกรรมฉบับนั้นไว้พร้อมกับลงชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ที่ผนึก
หลังจากนั้นนำเอกสารปิดผนึกไปส่องมอบให้เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น ผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอเก็บรักษาไว้ โดยต้องนำพยานไปด้วย 2 คน เพื่อยืนยันว่านี่คือพินัยกรรมที่เขียนขึ้นมาเองจริง
5. พินัยกรรมแบบวาจา
พินัยกรรมแบบวาจา มีเอาไว้รองรับในกรณีที่ผู้เขียนพินัยกรรมอยู่ในสภาวะเสี่ยงตาย มีโรคระบาด ป่วยหนักมาก ทำให้ไม่สามารถทำพินัยกรรมเหมือนแบบอื่นๆ ได้
ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมต้องบอกเจตนาว่ามรดกตกทอดที่มีอยู่จะยกให้ใครต่อหน้าพยาน 2 คน และพยานทั้ง 2 คนต้องแจ้งวัน เดือน และปีที่ทำพินัยกรรมและสาเหตุว่าทำไมจึงต้องทำพินัยกรรมแบบวาจาแก่เจ้าหน้าที่รัฐ เช่น นายอำเภอ ผู้ว่าการเขต ให้เป็นผู้ดูแลเรื่องพินัยกรรม
เขียนพินัยกรรมแบบไหนดี?
การทำพินัยกรรมมีให้เลือก 5 แบบแต่แบบที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ พินัยกรรมแบบธรรมดา และพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ เพราะสามารถจัดการเรื่องทั้งหมดได้เอง ไม่ต้องยื่นเรื่องไปยังเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่เสียค่าธรรมเนียมเรื่องเอกสารให้ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนผู้รับทรัพย์สินมรดกตกทอดได้ทุกเมื่อ
แต่วิธีที่ปลอดภัยและปลอมแปลงได้อยากสุดๆ คือ “พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ” เพราะนี่คือลายมือจริงของผู้ทำพินัยกรรมที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้ ถ้าจะปลอมก็ต้องปลอมตัวหนังสือทั้งฉบับรวมไปถึงลายเซ็นของผู้ทำพินัยกรรม จึงยากมากในการปลอมแปลงเอกสาร
ไม่ได้เขียนพินัยกรรมทิ้งไว้ ใครจะได้สมบัติ
การเขียนพินัยกรรมทิ้งไว้ก่อนจากไป คือการแสดงเจตนารมณ์ว่าเจ้าของสมบัติต้องการยกทรัพย์สินทั้งหมดที่มีเอาไว้ให้ใครบ้างเมื่อได้จากโลกนี้ไปแล้ว ดังนั้น เขียนพินัยกรรมเอาไว้เถอะนะครับ
เพราะสมบัติทั้งหมดที่เป็นเจ้าของจะได้ส่งมอบถึงคนที่อยากจะให้จริงๆ คนคนนั้นอาจไม่ใช่ทายาทโดยธรรมแต่เป็นทายาทโดยพินัยกรรม ซึ่งการเขียนพินัยกรรมจะเป็นการยืนยันว่านี่คือความตั้งใจจริง
ทายาทโดยธรรม คือใคร?
ทายาทโดยธรรม หมายถึง ทายาทที่มีสิทธิ์ในมรดกตามกฎหมาย มีสายเลือดเดียวกับผู้เขียนพินัยกรรม โดยจะได้รับเป็นลำดับขั้นของผู้เขียนพินัยกรรม ดังนี้
- ผู้สืบสันดาน (ลูก, หลาน, เหลน, โหลน, ลื้อ)
- พ่อหรือแม่
- พี่น้องร่วมสายเลือด (พ่อแม่เดียวกัน)
- พี่น้องร่วมสายเลือด (พ่อเดียวกันหรือแม่เดียวกัน)
- ปู่ย่าตายาย
- ลุงป้าน้าอา
แต่ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมเอาไว้เลยว่าจะมอบให้ใคร ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของแผ่นดิน
ทายาทโดยพินัยกรรม คือใคร?
ทายาทโดนพินัยกรรม คือบุคคลที่ถูกระบุเอาไว้ในพินัยกรรมมรดกตามความตั้งใจของผู้เขียนพินัยกรรม ไม่จำเป็นจะต้องเป็นลูก หลาน หรือญาติพี่น้อง เป็นใครก็ได้ ซึ่งจะเรียกว่า “ผู้รับพินัยกรรม”
ดังนั้น ถ้าอยากให้มรดกตกทอดที่มีอยู่ส่งมอบถึงใคร ผู้เขียนพินัยกรรมควรเริ่มทำพินัยกรรมมรดกตั้งแต่เนิ่นๆ อย่ารอให้เวลาผ่านล่วงเลยไปแล้วค่อยคิดทำ เพราะทรัพย์สินที่มีอยู่จะส่งถึงมือของคนที่อยากให้จริงๆ
สรุป
ไม่ต้องรอให้ถึงเวลาใกล้หมดลมหายใจเแล้วคิดเขียนพินัยกรรม เพราะการเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ คือการวางแผนอนาคตที่ดีที่สุด หากคิดอยากทำพินัยกรรมให้ลูกหลาน ก็สามารถเริ่มได้เลย
และถ้าไม่ใช่เศรษฐีพันล้าน มีมรดกตกทอดหมื่นแสนก็สามารถทำได้เลยเช่นเดียวกัน ไม่จำเป็นจะต้องหาทนายประจำตระกูลเหมือนในละครในยุ่งยาก
ซึ่งพินัยกรรมมีทั้งหมด 5 แบบ และวิธีที่นิยมที่สุดคือ พินัยกรรมแบบธรรมดาและพินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ ทำพินัยกรรมเถอะครับ เพราะนี่คืออีกวิธีในการวางแผนอนาคตในวันที่คุณจากโลกนี้ไปแล้ว
ขอบคุณข้อมูลจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย